เพราะเหตุไหนจึงต้องตั้งนะโมตัสสะ 3 จบ ก่อนสวดมนต์

Loading...

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ(๓ ครั้ง)

ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

หลายท่านคงสงสัยว่า ทำไมต้องกล่าวบทคำบูชาพระพุทธเจ้านี้ก่อนว่าคาถา (โบราณเรียกตั้งนะโม ๓ จบ) หรือนำหน้าบทสวดมนต์ต่างๆ ตลอดด้วย ที่มาของคำบูชาพระบรมศาสดานี้ มีเรื่องเล่าว่า ณ แดนหิมวันต์ประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์ มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับ พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า “นะโม” หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุท ธัสสะ(๓ ครั้ง)
ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

หลายท่านคงสงสัยว่า ทำไมต้องตั้งนะโมฯ 3 จบ
ก่อนสวดมนต์ หรือนำหน้าบทสวดมนต์ต่างๆตลอดด้วย

ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า การตั้งนะโมฯ หรือที่จริงนั้นคือ บทสวดนมัสการนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า ที่ควรเคารพบูชาที่สุดทั้ง 3โลก

เปรียบดังองค์ประธานแห่งคาถายิ่งใหญ่กว่าคาถาทั้งปวง

ซึ่งจะเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นสิริมงคลกับชีวิต ก่อนสวดพระคาถาบทใดก็ตาม เป็นแรงบุญหนุนนำให้พระคาถานั้นศักดิ์สิทธิ์

สำหรับที่มาของคำบูชาพระบรมศาสดา นี้ มีการบันทึกว่า ในสมัยพุทธกาล ณ แดนหิมวันต์ประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์
ยักษ์ตนนี้มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับ พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า

“นะโม”หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง
กล่าวฝ่าย อสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระเกียรติศัพท์ ของพระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนาที่จะได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก

จึงคิดดูแคลนพระบรมศาสดาว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอนานวันเข้าพระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไปทั้งสามโลก จนทำให้อสุรินทราหูอดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าขอฟังธรรม

แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้างของ อสุรินทราหู ให้มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า

“ตัสสะ” แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ

เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก มีชื่อเรียกว่า ชั้นกามาวจร มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ พร้อมบริวาร ได้พากันเข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วทูลถามปัญหา พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมตอบปัญหาแก่มหาราชทั้งสี่พร้อมบริวาร จนยังให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้งสี่ และบริวารท่านทั้ง ๔ นั้น จึงเปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า

“ภะคะวะโต” แปลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า

อะระหะโต เป็นคำกล่าวสรรเสริญของ ท้าวสักกะเทวราช เจ้าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ท่านสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะเทวราช ได้ทูลถามปัญหาแด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยายธรรม และทรงตอบปัญหา จนทำให้ท้าวสักกะเทวราชได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล จึงเปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า

“อะระหะโต” แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง

สัมมาสัมพุทธัสสะ เป็นคำกล่าวยกย่องสรรเสริญของ ท้าวมหาพรหม หลังจากได้ฟังธรรม จนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ

“สัมมาสัมพุทธัสสะ” หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด
รวมเป็นบทเดียวว่า

“นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ”

แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น (3) ด้วยเหตุนี้โบราณท่านจึงว่า หากขึ้นต้นคาถาหรือบทสวดมนต์ใดๆด้วยการตั้งนะโม ๓ จบ คาถานั้นจะมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักด้วย เพราะเป็นคำสรรเสริญพระพุทธเจ้าที่มีเทพพรหมชั้นหัวหน้าได้กล่าวไว้ แรงครูหรือแรงแห่งเทพ-พรหม และแรงพระรัตนตรัยท่านจึงประสิทธิ์ให้สมประสงค์

ความหมายของการท่อง นโม ที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺตเถร ท่านได้ชี้แจงไว้ในหนังสือมุตโตทัย ถึงที่มาที่ไปของ “นะโม” สรุปพอสังเขปได้ว่า

คำว่า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต แปลว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เจ้าพระองค์นั้น

อะระหะโต แปลว่า ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส

สัมมาสัมพุทธัสสะ แปลว่า ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

นะ คือ ธาตุน้ำ ซึ่งมาจากแม่

โม คือ ธาตุดิน ซึ่งมาจากพ่อ

ทั้งสองธาตุนี้ผสมกันจึงเกิดเป็นตัวเรา โดยมีธาตุไฟ และธาตุลมเข้ามาอาศัยภายหลัง นะโม จึงสำคัญเพราะเป็นธาตุตั้งต้น และเมื่อครั้งหมดธาตุลมและธาตุไฟ ทุกอย่างก็จะสลายคืนธรรมชาติ ด้วยเหตุนี้จึงเห็นได้ว่า “นะโม” นอกจากจะแปลตรงตัวว่า “นอบน้อม” แล้วยังมีความหมายเชิงลึกเช่นนี้อีกด้วย

ครั้นเราผวน “นะโม” จะได้ว่า “มโน” มโน แปลว่า ใจ ครั้นตรงนี้ก็ต้องยกพุทธพจน์ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฎฺฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ

ที่กล่าวมาข้างต้นพอสังเขปนี้ คงทำให้หลายท่านเข้าใจความหมายและ เหตุผลที่ “นะโม” ถูกสวดนำหน้าบทสวดอื่นๆ และหวังว่าทุกท่านจะได้ระลึกถึง “นะโม” และ ตั้ง “มโน” ทุกครั้งที่กล่าวบทสวดบทนี้

ทำไม? ปกติการเปิดสัมมนาต้องกล่าวนโม 3 จบก่อน แล้วจึงกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย แต่ทำไมที่นี่ กล่าวนโม 3 จบทีหลัง

ที่กล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยก่อน ว่านโมทีหลัง เพราะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เกิดก่อน พ่อแม่ และเป็นที่พึ่ง เป็นสิ่งที่ควรบูชาอันสูงสุดในชีวิตของคนเรา

ดังนั้นจึงควรกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัยก่อน แล้วตามด้วยนโม 3 จบ คือ การบูชาคุณพ่อแม่ ผู้มีพระคุณ อันจะทำให้เรามีมงคลครบถ้วน พร้อมที่จะปฏิบัติธรรม ทำบุญกุศลได้ต่อไป

ขอขอบคุณ : guru.sanook  News69 / รูปภาพจากอินเตอร์เน็ตทุกแหล่งที่มา ขอขอบพระคุณอย่างยิ่ง
เรียบเรียง/ลำดับภาพโดย : HotNews69

Loading...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *