บารมี หลวงพ่อโตวัดอินทาราม บางขุนพรหม พระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Loading...

หลวงพ่อโตวัดอินทร์ หรือ หลวงพ่อโตวัดอินทาราม  บางขุนพรหม  กรุงเทพมหานคร 

เป็นพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก   สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต  พรหมรํสี) ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ 2410

ก่อด้วยอิฐถือปูน  แต่ดำเนินการก่อสร้างได้เพียงครึ่งองค์สูงเพียงพระนาภี(สะดือ)

สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต  พรหมรํสี)สิ้นชีพิตักษัย

มีการก่อสร้างต่อเติมมาตลอด   ครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร(เงิน อินทรสโร)เจ้าอาวาสวัดอินทรวิหารได้จัดสร้างหลวงพ่อโตจนสำเร็จสมบูรณ์ และจัดให้มีงานสมโภชเมื่อเดือนมีนาคม  พ.ศ.2471

ภาพถ่าย ๒๕๕๒ วัดอินทรวิหาร พระหลวงพ่อโต บางขุนพรหมพระนครกรุงเทพประเทศไทย

พระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรขนาดใหญ่แห่งเดียวของเมืองไทยและแห่งเดียวในโลก  ซึ่งผู้ริเริ่มก่อสร้างคือสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต  พรหมรํสี)  เชื่อว่าท่านย่อมมีแนวความคิดสำคัญเป็นพื้นฐานที่ควรนำมาพิจารณาแยกส่วนให้เห็นถึงความจริง  เพราะเป็นพระพุทธรูปที่แตกต่างจากพระพุทธรูปที่นิยมสร้างกันทั่วไป   จากข้อมูลการสร้างที่ระบุถึงจุดประสงค์ในการสร้างว่า เพื่อเป็นอนุสรณ์ในวัยเยาว์ของท่านที่ได้มาอาศัยอยู่กับญาติพี่น้อง  ท่านได้ยืนและเดินอยู่ในย่านนี้  นั้น นับว่าเป็นเหตุผลที่ค่อนข้างจะแคบไปสักหน่อยและห่างไกลจุดหมายที่แท้จริง   ความจริงแล้วเรื่องนี้น่าจะมีความหมายโยงใยอยู่กับประวัติของท่านและเหตุการณ์ทางการเมืองการปกครองของไทยในเวลานั้น  และในเวลานี้ด้วย

ตามประวัติของท่านกล่าวถึงชาติกำเนิดไว้อย่างน่าสนใจ  หลายตำรา  หลายตำนานกล่าวถึงบิดาของท่านไว้แตกต่างกัน  เช่น บิดาของท่านคือพระยากำแพงเพชร(พระเจ้าตากสิน) บ้าง  คือเจ้าพระยาจักรี(ร.1) บ้าง  คือ เจ้าพระยาสุรสีห์ หรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร(ร.2) บ้าง  ด้วยหลักฐานและเหตุผลแตกต่างกัน  บิดาของท่านจะเป็นใครก็ตาม ทั้งหมดนั้นก็ล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลสำคัญในทางการเมือง การปกครองทั้งสิ้น

พระยากำแพงเพชร(พระเจ้าตากสิน)

เจ้าพระยาจักรี(ร.1)

เจ้าพระยาสุรสีห์ หรือสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร(ร.2)

            สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต  พรหมรํสี)ท่านย่อมได้รับทราบข้อมูลจากผู้เลี้ยงดูว่าบิดาของท่านเป็นใครและมีความสำคัญอย่างไรหรือมีสิ่งใดบ้างที่เป็นอันตราย  ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงปิดบังภูมิหลังของท่านมาโดยตลอดโดยวางตัวให้เป็นบุคคลธรรมดาเหมือนสามัญชนทั่วไป  ปฏิเสธยศถาบรรดาศักดิ์ใด ๆ  ถึงกระนั้นก็ยังมีการระแวงสงสัยในแต่ละครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในสังคมไทย   วงจรของการหวาดระแวงนี้มันเหวี่ยงมาตั้งแต่ครั้งเสียกรุงครั้งล่าสุดแล้ว

สถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้น่าจะเป็นที่มาของแนวคิดในการก่อสร้างพระพุทธรูปยืนปางอุ้มบาตรที่มีขนาดใหญ่ที่สุด   ซึ่งมีความหมายชัดเจนว่า คำว่า อุ้มบาตร หมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน  ให้อภัยกันเถิด  ไม่จองเวรซึ่งกันและกัน

แนวคิดของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต  พรหมรํสี)ในเรื่องนี้นอกจากจะสะท้อนเหตุการณ์ในอดีตในช่วงต้นรัตนโกสินทร์แล้วยังส่งทอดมาถึงสังคมไทยในปัจจุบัน และนั่นก็น่าจะเป็นทางรอดทางเดียวสำหรับสังคมไทยด้วย

ขอขอบคุณ : oknation.nationtv

Loading...

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *